กาแฟ (Coffee) ช่วยลดความอ้วนได้ไหม?
กาแฟ (Coffee) ไม่ใช่แค่ใช้ดื่มเพื่อให้ตาสว่างเท่านั้น แต่ตอนหลังมีการนำมาเป็นอาหารเสริมลดนํ้าหนัก ที่โฆษณาว่าช่วยลดความอ้วนได้มากถึง 5-10 กิโลกรัมเลยทีเดียว!
วันนี้ ผมโค้ชเค ขาอาสามาไขข้อข้องใจว่า กาแฟช่วยลดความอ้วนได้จริงหรือเปล่า มีประโยชน์และโทษอย่างไรบ้าง ตามมาเลยครับ
กาแฟ (Coffee) ลดความอ้วน ชัวร์หรือมั่วนิ่ม?
กาแฟมีสาระสำคัญที่เป็นส่วนผสม คือ คาเฟอีน (Caffeine) ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เป็นสารกระตุ้นประสาทถูกกดหมายที่บริโภคมากที่สุดในโลกเลย
รู้ไหมครับว่า อาหารเสริมลดไขมันส่วนมากที่ขายกันอยู่ จะมีส่วนผสมของคาเฟอีนด้วย (เขามีเหตุผลที่ทำอย่างนั้นครับ) นั่นก็เพราะว่าคาเฟอีนมีส่วนช่วยเคลื่อนย้ายไขมันออกจากเนื้อเยื้อไขมัน เพื่อนำไปเผาผลาญและใช้เป็นพลังงานมากขึ้นนั่นเอง
สรุปก็คือ เรามีตัวช่วยเบิร์นไขมันเพิ่มอีกแรงหนึ่งครับ
ในกาแฟ…มีสารกระตุ้น (Stimulants Inside)
เมื่อกาแฟถูกนำมาบดเพื่อทำเป็นเครื่องดื่ม สารสำคัญที่อยู่ในเม็ดก็ติดมาด้วย หลักๆก็จะมีดังนี้ครับ
- คาเฟอีน (Caffeine): นี่คือสารประกอบสำคัญและมีมากที่สุดครับ
- ธีโอโบรมีน (Theobromine): สารนี้จะพบมากและเป็นส่วนประกอบหลักของเมล็ดโกโก้ (Cocoa) แต่ก็พบได้บ้างในเม็ดกาแฟครับ
- ทีโอฟิลลีน (Theophylline): นี่คือสารกระตุ้นประสาทที่ได้ทั้งในเม็ดโกโก้และเม็ดกาแฟ และยังเป็นส่วนผสมของยาเพื่อใช้รักษาโรคหืดหอบ (Asthma) ด้วยครับ (1)
- กรดคลอโรจีนิก (Chlorogenic Acid): เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอการหลั่งนํ้าตาลกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งจะส่งผลดีต่อการควบคุมไขมันครับ (2)
อย่างที่เกริ่นไปครับว่า คาเฟอีนคือสารที่มีมากและสำคัญที่สุด อีกทั้งยังเป็นสารที่ได้ทำการวิจัยถึงผลลัพธ์อย่างละเอียดแล้วด้วย
งานวิจัยพบว่า คาเฟอีนมีส่วนช่วยยับยั้งหรือหยุดการส่งสารสื่อประสาทที่มีชื่อว่า อะดีโนซีน (Adenosine) ที่มีผลทำให้เราเหนื่อยและไม่มีแรงอยากทำอะไร (3)
ในทางกลับกันคาเฟอีนก็จะไปกระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาทชนิดอื่นด้วย นั่นคือ โดพามีน (Dopamine) และ นอร์พิเนฟริน (Norepinephrine) ซึ่งสารสื่อประสาท 2 ชนิดนี้จะช่วยให้เราตื่นตัว มีความสุข และมีพละกำลังในการทำกิจกรรมมากขึ้น เช่น ออกกำลังกาย เป็นต้นครับ
นี่ก็คือเหตุผลที่ว่า แทนที่เราจะเหนื่อยจากการเหนื่อยล้าหรือพักผ่อนน้อย กาแฟทำให้เราตื่นตัว แอคทีฟขึ้น และเพิ่มสมรรถนะในการออกกำลังกายได้มากถึง 11-12% เลยทีเดียวครับ (4)
กาแฟกับการเผาผลาญไขมัน
ความจริงก็คือ กาแฟสามารถช่วยเคลื่อนย้ายเซลล์ไขมันจากเนื้อเยื่อไขมัน (Fat Tissue) ออกไปใช้เป็นพลังงานมากขึ้น โดยเฉพาะไขมันดื้อด้าน เช่น ที่พุง ขา ต้นแขน และหลัง เป็นต้นครับ
กลไกลการทำงานของกาแฟก็ไม่ซับซ้อนเลยครับ คาเฟอีนจะเข้ากระตุ้นให้สมองเพิ่มการหลั่งออร์โมนเอพิเนฟริน (Epinephrine) มากขึ้น ไปยังเนื้อเยื่อไขมันให้สลายไขมันออกมาสู่กระแสเลือด เพื่อนำไปเผาผลาญเป็นพลังงานมากขึ้น
เอพิเนฟริน (Epinephrine) และ อะดรีนาลีน (Adrenaline) คือ ฮอร์โมนตัวเดียวกันนะครับ
ประเด็น คือ หลักการลดนํ้าหนักมันมีให้เลือกไม่เยอะครับ เราจะทำได้โดย 1. กินน้อยลง 2. ออกกำลังกายมากขึ้น และ 3. อาหารตัวช่วยหรืออาหารเสริมลดไขมันมากิน เช่น คาเฟอีน นั่นเอง
หัวข้อต่อไปผมจะมาอธิบายว่า คาเฟอีนช่วยเร่งระบบเผาผลาญพลังงาน หรือเมตาบอลิซึม (Metabolism) อย่างไร
กาแฟกับเมตาบอลิซึม (Coffee & Metabolism)
ก่อนอื่นเราต้องมาเข้าใจคำศัพท์กันก่อนครับ นั่นคือคำว่า .”Resting Metabolic Rate (RMR)” ค่า RMR คือ อัตราการเผาผลาญไขมันในขณะที่เรานั่งหรือนอนอยู่เฉยๆ โดยที่ไม่ได้ทำอะไรเลย
ทีนี้ ยิ่งค่า RMR เราสูงเท่าไหร่ เรายิ่งจะเผาผลาญพลังงานมากขึ้นเท่านั้น และการลดนํ้าหนักและลดไขมันก็จะเร็วขึ้น แถมเวลากินอะไรก็ไม่อ้วนหรือนํ้าหนักขึ้นด้วยครับ (เพราะบางคนแค่ดมกลิ่นก็อ้วนแล้ว)
จากการศึกษาพบว่า (5) คาเฟอีนสามารถเพิ่มค่า RMR ได้มากถึง 3-11% เลยครับ แถมเขายังสรุปมาด้วยว่า ยิ่งเรากินอาหารเสริมที่คาเฟอีนสูงๆ ค่า RMR ก็จะสูงขึ้นได้อีก
นอกจากนี้ยังพบว่า คนที่หุ่นดี (ไม่อ้วน) คาเฟอีนจะช่วยเผาผลาญไขมันได้มากถึง 29% ในขณะที่คนอ้วอนจะได้มากสุดแค่ 10% เท่านั้นครับ คนที่น้ำหนักเกินหรืออ้วน ก็คงยังต้องควบคุมอาหารและออกกำลังกายมากขึ้นอยู่ดีนะครับ (6)
ใครที่พลาดอ่านบทความ Fat Loss Guide ของผอม คลิกตรงนี้เพื่ออ่านได้เลยครับ
ลดน้ำหนักด้วยกาแฟ มีผลในระยะยาวหรือเปล่า?
ฟังดูแล้วกาแฟเหมือนเป็นยาวิเศษเลยใช่ไหมครับ? แต่รู้ไหมครับว่า ถ้าเรากินกาแฟไปเรื่อยๆ ร่างกายเราก็จะปรับตัว ทำให้ฤทธิ์ของคาเฟอีนลดลงจนไม่มีเหลือเลย นั่นก็หมายความว่า คาเฟอีนจะช่วยเผาผลาญไขมันแค่ตอนแรกเท่านั้น (7) เพราะร่างกายเราดื้อคาเฟอีนครับ
คำแนะนำจากโค้ชเค (My Two Cents)
เท่าที่ศึกษาดู ผมเห็นว่าคาเฟอีนอาจจะไม่ได้ผลกับทุกคนครับ ถ้าใครซื้ออาหารเสริมคาเฟอีนมาลอง ก็อาจจะค่อยๆเพิ่มขนาดมากขึ้นเรื่อยๆ และสังเกตการเปลี่ยนแปลงทั้งก่อนและหลังออกกำลังกายดู
อย่างที่เกริ่นไป ร่างกายเราจะชินกับคาเฟอีนเร็วมาก ถ้าเป้าหมายของเราในการกินกาแฟ คือ ลดไขมัน เราต้องมีช่วงที่กินและช่วงที่หยุด เช่น กินกาแฟ 2 อาทิตย์ และหยุดกิน 2 อาทิตย์ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะไม่ให้ร่างกายชินกับคาเฟอีนครับ
ถ้าชอบบทความดีๆจากผมโค้ชเค อย่าลืมกด Share ด้วยนะครับ